วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2563

Classroom Action Research

📒Classroom Action Research📒

📚วิจัยในช้้นเรียน
👇👇👇👇👇👇👇👇👇👇👇👇👇(คลิ๊ก)
THE DEVELOPMENT OF CREATIVE THINKING
EARLY CHILDHOOD BY STORYTELLING
WITH STRUCTURED OPEN-ENDED
QUESTIONS AND SOCIAL REINFORCEMENT

🔆🔰กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย🔆🔰
กลุ่มตัวอย่างของการศึกษาครั้งนี้เป็น
เด็กปฐมวัยเพศหญิงและชายที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 1
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 ของโรงเรียนบ้านปงสนุก
อำเภอเมืองจังหวัดลำปาง
สังกัดสำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ
🔆🔰สมมติฐานการวิจัย🔆🔰
 1.ความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการ
จัดกิจกรรมการเล่านิทานประกอบคำถามปลายเปิดแบบมีโครงสร้าง
ควบคู่การเสริมแรงทางสังคมสูงกว่าเด็กปฐมวัย
ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่านิทาน
ประกอบคำถามปลายเปิดแบบมีโครงสร้างและเด็กปฐมวัยที่ได้รับ
การจัดกิจกรรมการเล่านิทานเพียงอย่างเดียว
2. เด็กปฐมวัยเพศหญิงและเพศชายมีความคิดสร้างสรรค์แตกต่างกัน
3. รูปแบบของการจัดกิจกรรมการเล่านิทานกับ
เพศส่งผลร่วมกันต่อความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย
🔆🔰สรุปผลการวิจัย🔆🔰
1. เด็กปฐมวัยที่ได้รับรูปแบบการจัดกิจกรรมการเล่านิทาน
ที่แตกต่างกันมีความคิดสร้างสรรค์
แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ. 05
โดยพบว่าเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการ
เล่านิทานประกอบคำถามปลายเปิดแบบ
มีโครงสร้างควบคู่การเสริมแรงทางสังคมและ
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการ
เล่านิทานประกอบคำถามปลายเปิดแบบ
มีโครงสร้างมีความคิดสร้างสรรค์สูงกว่า
เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่านิทานเพียงอย่างเดียว
กายเด็กปฐมวัยที่ได้รับการ
จัดกิจกรรมการเล่านิทานประกอบคำถามปลายเปิด
แบบมีโครงสร้างควบคู่การเสริมแรงทางสังคม และเด็กปฐมวัยที่ได้รับ
การจัดกิจกรรมการเล่านิทานประกอบคำถามปลายเปิด
แบบมีโครงสร้างมีความคิดสร้างสรรค์ไม่แตกต่างกัน
2. เด็กปฐมวัยเพศหญิงและเพศชายมีความคิดสร้างสรรค์
ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05
3. ไม่พบปฏิสัมพันธ์ร่วมกันระหว่างรูป



วันศุกร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2563

Learning Log 14

🍉Friday 24 th April  2020🍉



🌈⛄ความรู้ที่ได้รับ🌈⛄
🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻
🏠⛔🔊เรียนออนไลน์ ทางแอพ ZOOM🏠⛔🔊


  📛บทบาทของครูปฐมวัยกับการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์📛
1. การจัดสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียน
2. การจัดกิจกรรมหรือการ ประสบการณ์
3. การวัดประเมินผล
4. ให้ความสนใจเด็ก
5. การจัดเตรียมสื่อวัสดุอุปกรณ์
📛คุณลักษณะทางความคิดสร้างสรรค์ของครูปฐมวัย📛

1. มีความคิดสร้างสรรค์ในการสอนเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก
2. เป็นแหล่งความรู้และมีความรอบรู้ครูที่มีความคิดสร้างสรรค์เป็นผู้สนใจศึกษาค้นคว้าสิ่งต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง
3. ความสนใจรอบด้านครูที่มีความคิดสร้างสรรค์ควรมีความสนใจกว้างรอบด้านสนใจกิจกรรมต่างๆ หลายๆ อย่างและไม่ชอบทำอะไรซ้ำ ๆ 
4. อารมณ์ขัน อารมณ์ขันเป็นลักษณะสำคัญของคนมีสุขภาพจิตดีและช่วยความคิดอ่าน
5. สุขภาพอนามัย สุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจเป็นลักษณะพื้นฐานที่สำคัญสำหรับครู
6. คุณสมบัติส่วนตัวของครูสอนเด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์ ควรเป็นคนที่มีรสนิยมดีการแต่งกายประณีต สวยงาม เหมาะสมกับวัย
👑📷กิจกรรม👑📷

📀กิจกรรมที่ 1📀

สื่อวัสดุธรรมชาติส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์




📀กิจกรรมที่ 2📀
ลำดับขั้นความคิดสร้างสรรค์




📀กิจกรรมที่ 3📀
 วิเคราะห์เปรียบเทียบแนวความคิดสร้างสรรค์



🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪


💛Assessment💛 
👩Self - Assessment of student 👩
- เข้าเรียนตรงเวลา
-ตั้งใจเรียนและจดตาม
👯Member Assessment 👯
- เข้าเรียนตรงเวลา
- เพื่อนๆตั้งใจเรียนทำกิจกรรม
👵Teacher Assessment 👵
- อาจารย์อธิบายงานและสอนอย่างเข้าใจง่าย
- สอนตรงต่อเวลา


🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁







วันศุกร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2563

Learning Log 13

🍉Friday 17 th April  2020🍉



🌈⛄ความรู้ที่ได้รับ🌈⛄
🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻
🏠⛔🔊เรียนออนไลน์ ทางแอพ ZOOM🏠⛔🔊

💰🔮การเคลื่อนไหวกับการพัฒนาสมอง💰🔮



การบริหารสมองเป็นการเชื่อมโยงระหว่างการเคลื่อนไหวของร่างกายกับการทำงานของสมอง
💹🔮🔑 สมองความสำคัญ💹🔮🔑
 หัวใจสำคัญของการเรียนรู้ของคนทำงานยุคใหม่คือการปลดปล่อยพลังสมองออกมา
 การทำงานของสมองสมองเปรียบเสมือนแผงสวิตช์ไฟฟ้าที่สลับซับซ้อนอยู่ในกะโหลกศีรษะเป็นไขมันมีเยื่อหุ้มอยู่ด้านนอกประตูเซลล์ประสาทหนึ่งแสนล้านเซลล์เรียกว่า นิวโรน
      💹🔮🔑ความสำคัญของการพัฒนาสมอง💹🔮🔑
  • เป็นรากฐานของการพัฒนาทั้งปวงเป็นการพัฒนาคุณภาพมนุษย์ที่ยั่งยืน
  • เป็นช่วงเวลาสำคัญและจำ
  • เป็นที่สุดในการพัฒนาสมอง
  • เป็นการลงทุนที่คุ้มค่า

 💹🔮🔑หลักการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ💹🔮🔑
 ให้เด็กได้แสดงเลียนแบบในเรื่องต่างๆ
กิจกรรมธรรมชาติ
  • พายเรือ 
  • ว่ายน้ำ 
  • ยก 
  • แบกหาม

 ชีวิตรอบตัวเด็ก
  • ในบ้าน
  • ในโรงเรียน

 ชีวิตสัตว์ต่างๆ
  • เครื่องเล่น
  • เครื่องบิน
  • รถไฟ

ความรู้สึก
  • หัวเราะ
  • ร้องไห้
  • ตกใจ
  • รัก

เสียงต่างๆ
  •  ติ๊กต๊อก 
  • เปาะแปะ

💹🔮🔑 องค์ประกอบของการเคลื่อนไหว💹🔮🔑
1.การรู้จักส่วนต่างๆของร่างกาย
2. บริเวณและเนื้อที่
3. ระดับของการเคลื่อนไหว
4. ทิศทางของการเคลื่อนไหว
5. การฝึกจังหวะ
5.1 การทำจังหวะด้วยการใช้ส่วนต่างๆของร่างกาย
5.2 การทำจังหวะด้วยการเปล่งเสียง
5.3 การทำจังหวะด้วยการใช้เครื่องเคาะจังหวะเครื่องมือทุกชนิด
5.4 การทำจังหวะด้วยการเคลื่อนไหว
    💹🔮🔑รูปแบบการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวตามหลักสูตร
                  การศึกษาปฐมวัย💹🔮🔑
  • การเคลื่อนไหวตามจินตนาการ
  • การเคลื่อนไหวประกอบเพลง
  • การเคลื่อนไหวประกอบคำคล้องจอง
  • การเคลื่อนไหวประกอบจังหวะ
  • การเคลื่อนไหวแบบผู้นำผู้ตาม
  • การเคลื่อนไหวแบบเลียนแบบสิ่งต่างๆคน สัตว์ ธรรมชาติ
  • การเคลื่อนไหวฝึกความจำ  
  • การเคลื่อนไหวประกอบอุปกรณ์
  •  การเคลื่อนไหวตามคำสั่ง 
  • การเคลื่อนไหวตามคำบรรยายหรือเหตุการณ์ต่างๆ
  • การเคลื่อนไหวตามข้อตกลง
🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪



💛Assessment💛 
👩Self - Assessment of student 👩
- เข้าเรียนตรงเวลา
-ตั้งใจทำกิจกรรมที่อาจารย์มอบหมาย
👯Member Assessment 👯
- เข้าเรียนตรงเวลา
- เพื่อนๆตั้งใจเรียนและทำกิจกรรมที่อาจารย์มอบหมาย
👵Teacher Assessment 👵
- อาจารย์อธิบายงานและสอนอย่างเข้าใจง่าย
- สอนตรงต่อเวลา

🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁








วันเสาร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2563

Learning Log 12

🍉Friday 10th April  2020🍉



🌈⛄ความรู้ที่ได้รับ🌈⛄
🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻
🏠⛔🔊เรียนออนไลน์ ทางแอพ ZOOM🏠⛔🔊



 💲💲บทบาทของครูกับการจัดประสบการณ์ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์พัฒนาความคิดสร้างสรรค์💲💲
1.ศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหาและทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เพิ่มความแผนการจัดกิจกรรมได้อย่างเหมาะสมกับการพัฒนาของเด็ก
2. ให้โอกาสเด็กได้เล่นเพราะการเล่นเป็นงานอย่างหนึ่งช่วยให้เด็กคิดสร้างสรรค์ครูจะต้องจัดเตรียมกิจกรรมวัสดุอุปกรณ์ต่างๆที่ท้าทายส่วนชวนให้เด็กเข้ามา ค้นคว้าทดลอง เช่นหนังสือรูปภาพเกี่ยวกับคำศัพท์ทางคณิตศาสตร์ การเล่นเรียนแบบชีวิตประจำวันเกมต่างๆเป็นต้น
3. ให้เด็กมีส่วนร่วมดีเพิ่มกิจกรรมโดยครูเชิญชวนด้วยคำถามปลายเปิดเช่นจะรู้ได้อย่างไรว่าผลไม้ 2 ตัวบนไหนหนักกว่ากันเราจะใช้อะไรชั่งน้ำหนักของผลไม้ไม่ได้ทำให้เด็กช่วยกันคิดและวางแผน
4. จัดเตรียมอุปกรณ์ที่มีความหลากหลายเพื่อให้เด็กเริ่มกิจกรรมได้มากกว่า 1 กิจกรรม
5. จัดกิจกรรมให้เด็กได้ไปศึกษานอกสถานที่เพื่อให้เด็กมีประสบการณ์กว้างขึ้นจากแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียนช่วยเพิ่มพูนทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
6. ในการจัดกิจกรรมแต่ละครั้งครูควรคำนึงถึงประสบการณ์ที่เด็กจะได้รับอย่างคุ้มค่าและสามารถบูรณาการทักษะๆ
7. ประสาทสัมผัสระหว่างผู้ปกครองกับครูเพื่อให้เกิดความเข้าใจร่วมมือกันในการจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก
👑👶🔊เพลงสำหรับเด็กปฐมวัย👑👶🔊




👑📷กิจกรรม👑📷
📀กิจกรรมที่ 1📀
ตัวเลขแปลงกาย ต่อเติมตัวเลข 1-9

📀กิจกรรมที่ 2📀
ตัดกระดาษเป็นเรขาคณิตแล้วนำมาต่อเติมอย่างอิสระ






🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪


💛Assessment💛 
👩Self - Assessment of student 👩
- เข้าเรียนตรงเวลา
-ตั้งใจเรียนและจดตาม
👯Member Assessment 👯
- เข้าเรียนตรงเวลา
- เพื่อนๆตั้งใจเรียน
👵Teacher Assessment 👵
- อาจารย์อธิบายงานและสอนอย่างเข้าใจง่าย
- สอนตรงต่อเวลา


🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁








Learning Log 11

🍉Friday 3rd April  2020🍉



🌈⛄ความรู้ที่ได้รับ🌈⛄
🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻
🏠⛔🔊เรียนออนไลน์ ทางแอพ ZOOM🏠⛔🔊

🍍วิเคราะห์มาตรฐานการเรียนของการจักการเรียนรู้แบบ STEM📕




🔮 วิทยาศาสตร์ทางกายภาพ (physical science)🔮
การเคลื่อนที่ของวัตถุ และแรงที่มีผลต่อวัตถุ เช่นแรงแม่เหล็กและแรงโน้มถ่วง 
ตัวชี้วัดของวิทยาศาสตร์กายภาพในช่งชั้นปฐมวัยจะนนเกี่ยวกับลักษณะของวัตถุ เช่น
น้ำหนัก รูปร่าง ขนาด พื้นผิว สีรูปทรง อุณหภูมิ รวมทั้งการเคลื่อนที่และแรงที่กระทำ เช่น การยก การผลัก การเป่า การลอย ตัวชี้วัดรวมประสบการณ์ด้านประสาทสัมผัสเข้ากับการจำแนกวัตถุโดยใช้สมบัติที่หลากหลายของวัตถุ
🔮Science🔮

Science จะเน้นให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้โดยผ่านกระบวนการที่เรียกว่า กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ที่จะประกอบด้วยขั้นตอน
1 ขั้นการสร้งความสนใจเป็นขั้นของการนำเข้สู่บทเรียน
2 ขั้นสำราจเละการค้นหา
3.ขั้นอธิบายเละลงข้อสรุป
4. ขั้นขยายความรู้ ป็นการนำความรู้มาเชื่อมโยงกับความรู้เดิมหรือแนวคิดที่ได้ค้นคว่าเพิ่มเติมขึ้น
5.ขั้นการประเมินเป็นการประเมินการเรียนรู้กระบวนการต่างๆ ว่าผู้เรียนได้เกิดการ เรียนรู้อะไรบ้าง อย่างไร และมากน้อยเพียงใด
ตัวอย่างองค์ประกอบการสอนกระบวนการวิทยาศาสตร์
สำหรับเด็กปฐมวัย



🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪


💛Assessment💛 
👩Self - Assessment of student 👩
- เข้าเรียนตรงเวลา
-ตั้งใจเรียนและจดตาม
👯Member Assessment 👯
- เข้าเรียนตรงเวลา
- เพื่อนๆตั้งใจเรียน
👵Teacher Assessment 👵
- อาจารย์อธิบายงานและสอนอย่างเข้าใจง่าย
- สอนตรงต่อเวลา


🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁





Learning Log 10

🍉Friday 27th March  2020🍉



🌈⛄ความรู้ที่ได้รับ🌈⛄
🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻🌻
🏠⛔🔊เรียนออนไลน์ ทางแอพ ZOOM🏠⛔🔊

🌷🌹ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์กับความคิดสร้างสรรค์🌷🌹



🌷🌹กระบวนการคิดเป็นกระบวนการทางปัญญา🌷🌹
  • สืบเสาะหาความรู้มีวิธีการอย่างมีระบบในขณะปฏิบัติการย่อมต้องใช้ความคิด ควบคู่ไปด้วย 
  • ผลคือพัฒนาการทางสติปัญญสามารถแก้ปัญหา ค้นหาและแสวงหาความรู้ใหม่ๆ อย่างมีประสิทธิภาพน่าเชื่อถือ

🌷🌹ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์🌷🌹
     1. ทักษะการสังเกต 
     2. ทักษะการจำแนกประเภท
     3. ทักษะการสื่อความหมาย 
     4. ทักษะการแสดงปริมาณ 
     5. ทักษะการทดลอง 
🌷🌹การจัดประสบการณ์ที่เน้นทักษะกระบวนการ
ทางวิทยาศาสตร์เชิงสร้างสรรค์ 🌷🌹
    1ให้เด็กสังเกต สิ่งที่สนใจสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่นตัวหนอนแล้วเดินออกมาบอกครูและครูไม่ควรคิดว่าเด็กกำลังสนใจสิ่งสกปรก
 แต่ครูควรแนะนำหรือให้เด็กฝึกสังเกต โดยถามว่า ตัวหนอนมีลักษณะอย่างไร เป็นต้น 
   2. สร้างความชัดเจนและมั่นใจว่าวิทยาศาสตร์เหมาะสำหรับเด็กทุกคน ไม่ใช่สำหรับเด็กบางคน 
ครูมีหน้าที่กระตุ้นให้เด็กทุกคนสนใจวิทยาศาสตร์ไม่ว่าเด็กจะเรียนเร็วหรือช้าให้เด็กเห็นว่าวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นและสนุก
   3. สื่อสารวิธีการช่วยให้เด็กเรียนรู้วิทยาศาสตร์กับผู้ปกครอง เพราะผู้ปกครองสำคัญยิ่งที่จะช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยครูคอยแนะนำ
 เช่นบอกว่ากิจกรรมที่เด็กทำนั้นเป็นการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เกี่ยวกับเรื่องอะไรและให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการส่งเสริมกิจกรรมแก่เด็ก
   4. ปลูกฝังและจัดประสบการณ์ให้เด็กเห็นว่าวิทยาศาสตร์ เป็นเรื่องสนุกและน่าสนใจ โดยครูตั้งคำถาม เช่น ต้นไม้เป็นสิ่งมีชีวิตมันต้องการอะไรบ้าง 
จะเริ่มคิดว่าต้นไม้ต้องการอะไรบ้าง หรือให้เด็กทดลองโดยการเพาะหรือปลูกต้นไม้
 แล้วให้เด็กสังเกตการเปลี่ยนแปลงการเจริญเติบโต ประสบการณ์การทดลองทำให้เด็กตื่นเต้นและสนใจอยากจะเรียนรู้และร่วมกิจกรรม
   5. สร้างความมั่นใจว่าตนเองมีค่า มีความสามารถและฝึกให้เด็กรู้จักวิธีค้นหาคำตอบด้วยตนเอง 
เช่น สังเกตว่าทำไมไม้ จึงลอยน้ำ  ทำไมเกลือจึงลอยน้ำ  สร้างความรู้สึกอยากค้นพบและอยากหาเหตุผล 
🌷🌹บทบาทครูกับการจัดประสบการณ์ที่เน้น
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์🌷🌹
   1.หาข้อมูลพื้นฐานว่าเด็กแต่ละคนมีความรู้เบื้องต้นแค่ไหน เพราะแต่ ละคนมี พื้นฐานไม่เหมือนกัน 
   2. เตรียมประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์และเลือกกิจกรรมที่เหมาะสมกับเด็กเป็นกิจกรรมที่ไม่ต้องระวังมากและเด็กทำ 
กิจกรรมเต็มที่ด้วยตนเอง เช่น ไม่คอยบอกเด็กว่าหนูอย่าจับเดี่ยวของครูแตก 
   3. จัดสภาพสิ่งแวดล้อมในห้องเรียน (จัดมุมหรือศูนย์วิทยาศาสตร์) โดยการคำนึงว่าจัดอย่างไรให้เด็กอยากเข้าไปเล่นในมุมนั้นๆ
การที่เด็กเข้าไปเล่นคลุกคลีอยู่ในมุมบ่อยๆ ครูก็ควรจะมีการเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆในมุมด้วย
   4. แนะนำวัสดุอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ เพื่อให้เด็กสนใจหรืออยากเข้ามาจับต้อง 
🌷🌹ตัวอย่างกิจกรรมวิทยาศาสตร์🌷🌹
ชื่อกิจกรรม            เป่าให้ลอย
ความคิดรวบยอด   อากาศต้องการที่อยู่ ฟองสบู่มีอากาศอยู่ข้างในจึง                         ลอยได้ 
วัตถุประสงค์ 
1. เด็กเป่าฟองสบู่ ให้เป็นลูกโป่งแบบต่างๆจากอุปกรณ์ที่                       กำหนดให้ได้  
2. เด็กบอกชื่อฟองสบู่ที่เป่าให้แปลกๆแตกต่างจากคนอื่น                       ได้ 
สื่อและอุปกรณ์ 
สบู่เหลว 5 ช้อนโต๊ะ น้ำเปล่า 3 ลิตร หลอดกาแฟ  ก้าน                    ผักบุ้งที่เป่าฟองสบู่  
การจัดกิจกรรม 
              1. เด็กและครูร่วมกันแนะนำกิจกรรมและอุปกรณ์                                2. เด็กนำน้ำสบู่มาเป่าโดยครูใช้คำถาม ดังนี้ 
  • จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเราเป่าลงไปในน้ำสบู่ลูกโป่งฟองสบู่มีลักษณะอย่างไร
  • เด็กคิดว่าอะไรอยู่ในลูกโป่งฟองสบู่” “เด็กคิดว่าลูกโป่ง         ฟองสบู่จะแตกหรือไม่” 
  • เด็กๆทำให้ลูกโป่งอยู่นานๆได้อย่างไร”  “เด็กเป่า                             ฟองสบู่ได้กี่ลูก”
  • “ลองเล่าเกี่ยวกับลูกโป่งฟองสบู่ให้ครูฟังซิ”
  • “มีอะไรบ้างที่เป่าอากาศเข้าไปแล้วมีขนาดใหญ่ขึ้น”

             3. เด็กนำเสนอประสบการณ์ โดยเล่าเกี่ยวกับการเป่า                           ลูกโป่งฟองสบู่ โดยครูบันทึกคำบอกเล่าลงใน                                  กระดาษแผ่นใหญ่ 
              4. ส่งเสริมให้เด็กวาดภาพลูกโป่งฟองสบู่ตามจินตนาการ 
             5. ทำลูกโป่งให้มีรูปร่างต่างๆจากวัสดุอื่น เช่น ถุง                             พลาสติก 

👑📷กิจกรรม👑📷
อาจารย์มอบหมายงานคู่
                            สมาชิก
นางสาวทิพยวิมล   นวลอ่อน  รหัสนักศึกษา 5911200227      เลขที่ 1
นางสาวจีรนันท์     ไชยชาย   รหัสนักศึกษา 5911200383       เลขที่  7
🍃กิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์🍃
ชื่อกิจกรรมการเรียนรู้ :  กาลักน้ำ
ความคิดรวบยอด เด็กเข้าใจการเปลี่ยนแปลงแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลของของเหลว ดูดกันลงมาด้วยน้ำหนักของของเหลวภายในสายยาง คือ น้ำ เมื่อของเหลวที่ปลายด้านหนึ่งไหลต่ำลงมาก็จะเกิดแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลของของเหลว ทำให้ของเหลวจากปลายสายยางด้านที่สูงกว่าไหลตามกันลงม
จุดประสงค์หลักของกิจกรรม
1. เด็กคิดค้นวิธีเล่นกาลักน้ำจากอุปกรณ์ที่กำหนดไว้ได้
2. เด็กพลิกแพลงการเล่นกาลักน้ำจากอุปกรณ์ที่กำหนดไว้ได้
3. เด็กตอบคำถามมากกว่าคำตอบเดียวได้

วัสดุอุปกรณ์
-          กะละมัง 2 ใบ
-          ขาตั้งต่างระดับ 2 อัน
-          น้ำ
-          สายยาง
ลำดับการจัดกิจกรรม
1. เด็กและครูร่วมกันแนะนำกิจกรรมและอุปกรณ์ โดยครูนําอุปกรณ์ทั้งหมดมาให้เด็กสังเกต แล้วถามคำถามว่า “จากอุปกรณ์ต่างๆที่เด็กๆสังเกตเห็น เด็กๆคิดว่าเราจะทำอุปกรณ์พวกนี้มาทำอะไรกัน”  
2. เด็กทดลองเล่นกาลักน้ำ โดยครูใช้คำถาม ดังนี้
-          เด็กๆจะนำอุปกรณ์ที่มีอยู่เล่นกาลักน้ำได้อย่างไร
-          เพราะเหตุใดกะละมังทั้ง 2 ใบ จึงวางสูง ต่ำ ไม่เท่ากัน
-          ทำไมน้ำจึงไหลจากกะละมังใบที่อยู่สูงกว่ามาสู่กะละมังใบที่ต่ำกว่า
-          เด็กจะใช้อะไรทำกาลักน้ำ นอกจากอุปกรณ์ที่มีอยู่
-          เด็กๆเคยเห็นน้ำไหลจากที่สูงมาสู่ที่ต่ำจากที่ใดบ้าง
3. เด็กนำเสนอประสบการณ์ โดยเล่าเกี่ยวกับการเล่นกาลักน้ำ และครูบันทึกลงในกระดาษ
4. เด็กและครูร่วมกันสรุปองค์ความรู้ที่ได้รับ

 การวัดและประเมินผล
สังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกทางความคิดสร้างสรรค์ ดังนี้
1. ความคิดริเริ่ม 
สังเกตจากการคิดค้นหาวิธีเล่นกาลักน้ำ
2. ความคิดคล่องแคล่ว
สังเกตจากการตอบคำถามได้หลากหลาย และตอบได้ว่องไวโดยไม่รีรอ
3. ความคิดยืดหยุ่น 
สังเกตจากการนำอุปกรณ์มาประยุกต์วิธีเล่นได้หลากหลายวิธี
4.ความคิดละเอียดลออ 
สังเกตจากการอธิบาย การตอบคำถามให้ชัดเจน สมบูรณ์ขึ้น


🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪🎪



💛Assessment💛 
👩Self - Assessment of student 👩
- เข้าเรียนตรงเวลา
-ตั้งใจทำกิจกรรมที่อาจารย์มอบหมาย
👯Member Assessment 👯
- เข้าเรียนตรงเวลา
- เพื่อนๆตั้งใจเรียนและทำกิจกรรมที่อาจารย์มอบหมาย
👵Teacher Assessment 👵
- อาจารย์อธิบายงานและสอนอย่างเข้าใจง่าย
- สอนตรงต่อเวลา


🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁🍁











มอค 3

     💓💓💓💓💓💓💓💓💓💓💓💓💓💓💓💓 Couse Syllabus Creative Thinking Provision for Early Childhood